เปิดวิธีคำนวณแบบง่าย “เงินบำนาญชราภาพแบบใหม่ VS แบบเดิม” ต่างกันอย่างไร
เปิดสูตรคำนวณเงินบำนาญชราภาพแบบใหม่ CARE – แบบเดิม แตกต่างกันอย่างไร ผู้ประกันตน ม. 33 และ ม. 39 ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์
เงินบำนาญชราภาพจากประกันสังคมเป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประกันตนหลังเกษียณ การปรับสูตรคำนวณใหม่จึงเป็นประเด็นที่สร้างความสนใจอย่างมาก มาทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างสูตรเก่าและสูตรใหม่แบบเข้าใจง่าย
เงื่อนไขในการรับบำนาญชราภาพ
1. อายุ 55 ปีบริบูรณ์ และ สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
2. ส่งเงินสมทบ ไม่น้อยกว่า 180 เดือน (15 ปี)
เงินบำนาญชราภาพ สูตรเดิมคำนวณอย่างไร?
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 การคำนวน
– คิด 20% ของฐานเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (จากเพดานสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท)
– หากส่งเงินสมทบเกิน 180 เดือน (15 ปี) จะได้เพิ่มอีกปีละ 1.5%
เงินบำนาญชราภาพ = ฐานเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย × 20% + (อายุงานเกิน 180 เดือน × 1.5% ต่อปี)
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 การคำนวน
– คิด 20% จากฐานเงินเดือน 4,800 บาท (เป็นค่าคงที่ เนื่องจากส่งเงินสมทบจากฐานเงินเดือนนี้)
– หากส่งเงินสมทบเกิน 180 เดือน จะได้เพิ่มอีกปีละ 1.5% เช่นกัน
เงินบำนาญชราภาพ = 4,800 × 20% + (อายุงานเกิน 180 เดือน × 1.5% ต่อปี)
trakool store pantip Link : https://pantip.com/topic/43311082